Creative Districts

ย้อนกลับ

ก่อร่าง สร้างย่าน สู่เมืองสร้างสรรค์ของเรา

หลากหลายโครงการที่เกิดขึ้นจากการผนึกความร่วมมือ ร่วมศึกษาและทดลองทำซ้ำอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ลืมฟังเสียงของผู้คนเพื่อพัฒนาพื้นที่ให้เป็นต้นแบบย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่มีทั้งเอกลักษณ์ภูมิทัศน์ดีและความแข็งแกร่งด้านธุรกิจ พร้อมก้าวสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ต่อไป

ถ้าถามว่า นิวยอร์กเป็นเมืองสร้างสรรค์หรือไม่? หลายคนตอบว่าใช่แล้วย่านไหน คือ ย่านสร้างสรรค์ในนิวยอร์กอาจไม่มีคำตอบตายตัว บางคนเลือกตอบว่า ย่านโซโหเพราะเป็นแหล่งรวมร้านค้า และแฟชั่น บ้างตอบว่าบรูคลิน ย่านถนนเรียงด้วยอิฐแบบโบราณ และอาคารโรงยาสูบเก่าที่ฟื้นฟูเป็นร้านอาหาร และแกลเลอรีสุดฮิป หรือมีทแพ็คกิ้งย่านที่ขึ้นชื่อว่า อันตรายและรกร้างได้รับการพัฒนา จนกลายเป็นสวนสาธารณะแห่งใหม่นามเดอะไฮไลน์สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวและเป็นปอดแห่งใหม่ของเมืองด้วยเหตุนี้จึงไม่ได้หมายความว่าทุกตารางพื้นที่ต้องเป็นย่านสร้างสรรค์จึงจะส่งผลสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ที่สมบูรณ์แบบแต่ผลรวมและภาพจำบางส่วนต่างหากที่อาจสะท้อนเรื่องราวของเมืองนั้นๆว่าสร้างสรรค์หรือเป็นไปในทิศทางใดไม่ต่างจากกรุงเทพฯ และย่านบางรัก ย่านต้นแบบ ที่ CEA และภาคีต่างๆ ผนึกความร่วมมือ ร่วมศึกษา และทดลองทำซ้ำ อย่างต่อเนื่องโดยไม่ลืมการฟังเสียงของผู้คนเพื่อขับเคลื่อนโมเดล พัฒนาให้เป็นพื้นที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีอยู่แวดล้อมด้วยกลุ่มคนสร้างสรรค์ที่หลากหลายและคือต้นแบบย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่มีทั้งเอกลักษณ์ภูมิทัศน์ดีและความแข็งแกร่งด้านธุรกิจไปพร้อมกันก่อนนำความเป็นไปได้เหล่านี้ไปปรับใช้ต่อในวงกว้างขึ้นและชัดเจนขึ้นในระดับเมือง เพื่อก้าวสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ต่อไป

เป็น
หนึ่งคำสำคัญที่จะช่วยยกระดับคุณภาพความเป็นอยู่จากพื้นที่ทุกแห่งที่มีเอกลักษณ์ มีสินทรัพย์ มีวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และคุณค่าเฉพาะตัว ซึ่งสามารถใช้เป็นต้นทุนของในการพัฒนาให้เป็นสู่ให้เกิดระบบนิเวศสร้างสรรค์ เมื่อระบบนิเวศของย่านแข็งแรง พื้นที่เล็กๆ ที่ได้รับการพัฒนาก็จะเปลี่ยนเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ าก็จะเปลี่ยนเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิต และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับพื้นที่อื่นๆ ได้โดยไม่ละทิ้งเอกลักษณ์เดิมของย่าน

อยู่
คนที่อยู่ในพื้นที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของย่านที่ผสมไปด้วยความหลากหลาย ทั้งอาชีพ อายุ ความถนัด ที่มีทักษะและความสามารถเฉพาะตัว รวมถึงคนจากนอกพื้นที่ ที่เข้ามาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มคนสร้างสรรค์ สร้างงานและการสร้างทรัพย์สินทางปัญญาภายในย่าน ซึ่งแต่ละย่านเองต่างก็มีจุดเด่นของกลุ่มสร้างสรรค์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่เกิดขึ้นในพื้นที่

คือ
พื้นที่ ต้นทุน กลุ่มคน = ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์
“พื้นที่ที่ใช้ประโยชน์จากความคิดสร้างสรรค์และระบบนิเวศสร้างสรรค์เป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของพื้นที่”

สร้างแลนด์มาร์กให้น่ามอง ลองจัดย่านให้น่าอยู่

ลองมองย่านด้วยสายตาใหม่ หยิบจับจุดเด่นมาเป็นจุดจดจำ เสริมสร้างเอกลักษณ์ให้ย่านเป็นที่รู้จัก เป็นได้ตั้งแต่สถานที่สำคัญ เรื่องราวที่บอกเล่ากันมาหลายรุ่น วัฒนธรรมเฉพาะพื้นที่หรือสภาพภูมิทัศน์โดยรอบมาพร้อมกับการเข้าถึงและสัญจรในย่านที่เป็นไปอย่างไหลลื่น

ระบบก็ต้องพร้อมเช่นกันแนวทางในการส่งเสริมเศรษฐกิจย่านสร้างสรรค์เป็นไปได้ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจสร้างสรรค์และสนับสนุนธุรกิจบนศักยภาพของย่าน ด้วยการจัดทำระบบฐานข้อมูลและสถิติธุรกิจอย่างเช่น ระบบการจัดเก็บภาษี กลไกทางการเงินที่สนับสนุน และนโยบายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องง่ายและสะดวก

แข็งแกร่งจากภายใน พร้อม Say Hi!
คนมาใหม่จากภายนอก

คำถามง่ายๆ คือทำอย่างไรไม่ให้คนใหม่มา… แต่คนเก่าจากไป
คำตอบง่ายๆ คือการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมระหว่างทั้งสองฝ่ายเพื่อให้เกิดความหลากหลาย เริ่มต้นจากการให้คุณค่ากับชุมชน และวิถีชีวิตดั้งเดิม ด้วยการเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องที่มีสิทธิ์มีเสียงในการตัดสินใจคัดเลือกแนวทางการพัฒนาร่วมกับกลุ่มคนสร้างสรรค์และหน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามาร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาย่าน โดยไม่ลืมเตรียมความพร้อมคนในย่านดั้งเดิมและธุรกิจในย่าน ความต้องการของพื้นที่ย่านจะช่วยให้ย่านสามารถสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของให้กับผู้คนในพื้นที่ และเป็นที่รู้จักให้กับกลุ่มคนนอกพื้นที่

ยินดีต้อนรับ

เมื่อพื้นที่พร้อม คนพร้อม ย่านก็พร้อมเปิดรับทำความรู้จักกับคนจากต่างพื้นที่ ด้วยหัวใจสำคัญคือ ‘การพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม’ ที่เป็นจุดเริ่มต้นของย่านสร้างสรรค์ที่ยั่งยืน คนในพื้นที่ต่างก็พร้อมต้อนรับให้คนภายนอกได้ลองเข้ามาทำความรู้จัก นำเสนอเรื่องราว วัฒนธรรม กิจกรรมที่สื่อถึงเอกลักษณ์ของย่าน ซึ่งล้วนแต่เกิดจากความร่วมมือ ความผูกพันของคนภายในย่าน ก่อนนำความรู้สึกที่ดีกลับไป