รายงานการศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 12 สาขา
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ในฐานะหน่วยงานหลักซึ่งมีภารกิจสำคัญด้านการสนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจสร้างสรรค์และปัจจัยสนับสนุน รวมทั้งการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ให้เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุดใหม่ (New Engines of Growth) เพื่อยกระดับขีดความสามารถด้านการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ ผ่านการสนับสนุนนวัตกรรม การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ การส่งเสริมให้เกิดการรวบรวมข้อมูล และการพัฒนาแพลตฟอร์มจัดเก็บประมวลผลข้อมูลสถิติ องค์ความรู้ ตลอดจนเทคโนโลยีต่าง ๆ รวมทั้งการสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นให้เกิดการยกระดับศักยภาพของบุคลากร (Capacity Building) ในระบบนิเวศของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทยอย่างเป็นระบบ
ดังนั้น การพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industries) แต่ละสาขา ตามนิยามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กำหนดไว้ทั้ง 4 กลุ่ม รวม 12 สาขา จึงเป็นเป้าหมายสำคัญของ CEA เพื่อเตรียมความพร้อมและยกระดับขีดความสามารถด้านการแข่งขัน ให้อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยมีศักยภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของการพัฒนาธุรกิจและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์แต่ละสาขา จำเป็นต้องศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่มีจำนวนมากอย่างรอบคอบ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสถานการณ์ โอกาส ข้อจำกัด และสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริงของแต่ละธุรกิจ รวมทั้งประเด็นอุปสรรคที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม สอดคล้องตามภารกิจรับผิดชอบของ CEA ในการเสนอแนะเป็นนโยบายหรือมาตรการเร่งด่วน เพื่อถ่ายทอดสู่แผนปฏิบัติงานที่เหมาะสม ตอบสนองความต้องการและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อกลุ่มเป้าหมาย
ด้วยเหตุนี้ CEA จึงดำเนินการศึกษาและจัดทำรายงานการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์รายสาขา เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพและแนวทางการพัฒนาส่งเสริมขีดความสามารถของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์รายสาขา รวมทั้งเครือข่ายอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ใน Ecosystem ของระบบโซ่คุณค่า (Value Chain) อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ พร้อมกันนี้ ได้นำเสนอแผนยุทธศาสตร์ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สอดคล้องต่อการนำไปใช้ประโยชน์จริงต่อภาคธุรกิจ และมีเป้าหมายในทิศทางเดียวกับนโยบายของรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) ต่อไป
ทั้งนี้ CEA ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา สมาคม สมาพันธ์ ภาคีเครือข่าย และกลุ่มตัวแทนภาคเอกชนในระดับต่าง ๆ ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ที่ประกอบรวมในนิเวศของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์นั้น ๆ ทั้งการสนับสนุนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ การสะท้อนประเด็นปัญหา และข้อจำกัดอย่างตรงไปตรงมา นอกจากนี้ ยังให้ความเห็นต่อสิ่งที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการได้รับจากหน่วยงานกำกับดูแลด้านนโยบาย ทั้งด้านความช่วยเหลือและการส่งเสริมสนับสนุน เพื่อผลักดันนโยบายที่จำเป็นต่อระดับโครงสร้างพื้นฐาน โดยที่ CEA เป็นเสมือนกลไกสำคัญในการส่งต่อข้อเสนอและประเด็นความต้องการดังกล่าว เพื่อเชื่อมโยงสู่แนวทางการตอบสนองความต้องการที่เหมาะสมต่อไป
CEA เริ่มดำเนินการจัดทำรายงานการศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ทั้ง 12 สาขานี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562-2565 (ปัจจุบัน) โดยศึกษาวิจัยข้อมูลของนิเวศอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ตลอดโซ่คุณค่า (Value Chain) และรวบรวมเส้นทางการเชื่อมโยงข้อมูล (Mapping Database) ต่าง ๆ ในนิเวศของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์แต่ละสาขานั้น ๆ เพื่อพัฒนาสู่การจัดทำฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ รายงานการศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์รายสาขา จำนวน 4 กลุ่ม รวม 12 สาขา มีข้อมูลสรุปได้ดังนี้
1. กลุ่มรากฐานทางวัฒนธรรมสร้างสรรค์ (Creative Originals)
กลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ บนรากฐานทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ประกอบด้วย 4 สาขา ได้แก่
2. กลุ่มคอนเทนต์และสื่อสร้างสรรค์ (Creative Content/ Media)
การนำความคิดสร้างสรรค์มาผลิตคอนเทนต์หรือสื่อ ประกอบด้วย 4 สาขา ได้แก่
- ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Film)
- การกระจายเสียง (Broadcasting)
- การพิมพ์ (Publishing)
- ซอฟต์แวร์ (เกมและแอนิเมชัน) (Software) (Game and Animation)
3. กลุ่มบริการสร้างสรรค์ (Creative Services)
กลุ่มอุตสาหกรรมที่ให้บริการด้านความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 3 สาขา ได้แก่
4. กลุ่มสินค้าสร้างสรรค์ (Creative Goods/ Products)
การนำความคิดสร้างสรรค์มาพัฒนาสินค้า ประกอบด้วย 1 สาขา ได้แก่
CEA หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานการศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ทั้ง 12 สาขานี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการและบุคลากรในแวดวงอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ รวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ในการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์พัฒนาต่อยอด และยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันเชิงธุรกิจ เพื่อสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจหรือคุณค่าทางสังคม และเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศต่อไปอย่างยั่งยืน