รายงานการศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ปี 2562: งานฝีมือและหัตถกรรม
“...แม้ว่าสัดส่วนการเติบโตของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขางานฝีมือและหัตถกรรม จะมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2560 แต่อย่างไรก็ตาม สัดส่วนจำนวนแรงงานสร้างสรรค์ในสาขางานฝีมือและหัตถกรรมซึ่งมีมากที่สุด หรือคิดเป็นร้อยละ 37.56 ของแรงงานสร้างสรรค์ทั้งประเทศไทย สะท้อนว่าหากได้รับการส่งเสริมและยกระดับศักยภาพอย่างเหมาะสม อาจเพิ่มอัตราเร่งให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจได้…”
รายงานการศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ปี 2562 สาขางานฝีมือและหัตถกรรม
ดาวน์โหลด บทสรุปผู้บริหาร | รายงานฉบับเต็ม
จำนวนหน้า: 235 หน้า
วัตถุประสงค์การจัดทำ: มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาและยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์งานฝีมือ เพื่อสร้างกลไกการขับเคลื่อนให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของสินค้าและผลิตภัณฑ์กลุ่มงานฝีมือและหัตถกรรม
เนื้อหาสำคัญ: ข้อมูลสถานการณ์ของอุตสาหกรรมกลุ่มงานฝีมือและหัตถกรรม ทั้งระดับประเทศและระดับสากล ผ่านการศึกษาเอกสารวิชาการ และเนื้อหาสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ ในอุตสาหกรรม
กรณีศึกษา: กรณีศึกษาและบทเรียนความสำเร็จจากประเทศญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักร ซึ่งนับเป็นต้นแบบของการจัดการนโยบายด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ และมีมาตรการขับเคลื่อนสนับสนุนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนและพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างชัดเจน
สาระสำคัญอื่น ๆ: ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อใช้เป็นแนวทางพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขางานฝีมือและหัตถกรรมของไทย ให้มีความชัดเจนและมีประสิทธิภาพต่อไป
เกี่ยวกับรายงานการศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์