รายงานการศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ปี 2563: ทัศนศิลป์
“...กว่าร้อยละ 95 ของผู้ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมทัศนศิลป์ของไทย เป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก แต่สร้างมูลค่าอุตสาหกรรมทัศนศิลป์ของไทย มูลค่าสูงกว่า 23,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.58 ของมูลค่าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ทั้งหมด นอกจากนี้ พบว่าระหว่าง ปี พ.ศ. 2557 – 2561 มูลค่าเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมทัศนศิลป์มีแนวโน้มการเติบโตไปในทิศทางที่ดี โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2561 มีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้น เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ทั้ง 15 สาขา อย่างมีนัยสำคัญ…”
รายงานการศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ปี 2563 สาขาทัศนศิลป์
ดาวน์โหลด บทสรุปผู้บริหาร | Presentation โครงการจัดทำฐานข้อมูลและแผนพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์รายสาขา: ทัศนศิลป์ | รายงานฉบับเต็ม
จำนวนหน้า: 232 หน้า
วัตถุประสงค์การจัดทำ: มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนา ต่อยอด และสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ โดยให้ความสำคัญกับงานทัศนศิลป์ร่วมสมัย ซึ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศผ่านการซื้อขายและส่งออกผลงานอย่างต่อเนื่อง
เนื้อหาสำคัญ: ข้อมูลสถานการณ์ของอุตสาหกรรมทัศนศิลป์ ทั้งระดับประเทศและระดับสากล ผ่านการศึกษาเอกสารวิชาการ และการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกของผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ ในระบบนิเวศอุตสาหกรรมทัศนศิลป์ของไทย
กรณีศึกษา: กรณีศึกษาและการถอดบทเรียนความสำเร็จจากประเทศสิงคโปร์และสหราชอาณาจักร เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบจุดอ่อน จุดแข็ง
สาระสำคัญอื่น ๆ: ข้อเสนอแนะแนวทางการกำหนดนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมทัศนศิลป์ของไทย รวมทั้งการยกระดับปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการยกระดับขีดความสามารถผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็กของอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างมีทิศทางที่เหมาะสมต่อไป
เกี่ยวกับรายงานการศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์