รายงานการศึกษาแผนพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ปี 2565: สินค้าแฟชั่น
“อุตสาหกรรมสินค้าแฟชั่น สร้างการจ้างงานในอุตสาหกรรมมากกว่า 7.5 แสนคนต่อปี และมีมูลค่ามากกว่า 2.2 แสนล้านบาท นอกจากนี้ ยังเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ จำนวนมาก”
รายงานการศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ปี 2565 สาขาสินค้าแฟชั่น
ดาวน์โหลด บทสรุปผู้บริหาร | Presentation โครงการจัดทำฐานข้อมูลและแผนพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์รายสาขา: แฟชั่น |ดาวน์โหลด PDF
จำนวน: 145 หน้า
วัตถุประสงค์การจัดทำ: เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กลุ่ม Creative Goods/Products สาขาสินค้าแฟชั่นของไทย ให้สามารถยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศให้เติบโตได้ ท่ามกลางบริบทการดำเนินธุรกิจที่ปรับเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน
เนื้อหาสำคัญ: การนำเสนอแผนพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขาสินค้าแฟชั่น ให้สามารถแข่งขันในเวทีระดับโลกได้ จำเป็นต้องศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียด ไม่ว่าจะจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในวงการอุตสาหกรรม ผู้ใช้บริการ และผู้กำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้อง ทั้งยังต้องพิจารณาปัจจัยความสำเร็จที่ประเทศผู้นำในอุตสาหกรรมสินค้าแฟชั่นต่าง ๆ ให้ความสำคัญ รวมถึงตระหนักถึงจุดแข็ง จุดอ่อน ของอุตสาหกรรมสินค้าแฟชั่นไทย เพื่อเป็นแนวทางจัดทำแผนพัฒนาอุตสาหกรรมฯ และเสนอแนะแผนปฏิบัติงานเชิงนโยบายที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงต่อไป
กรณีศึกษา: การนำต้นแบบการพัฒนาอุตสาหกรรมสินค้าแฟชั่นจากประเทศสหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอิตาลี มาเป็นกรณีศึกษา เพื่อวิเคราะห์นโยบายและแนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่เป็นรูปธรรม ทั้งการสร้าง Nation-Branding การจัดแสดงงานเพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าแฟชั่น และเปิดเวทีให้มีการเจรจาธุรกิจในตลาดต่างประเทศ การปลูกฝังความนิยมและสนใจด้านแฟชั่นให้กับเยาวชน และการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาด้านการออกแบบสร้างสรรค์ผลงานแฟชั่น เป็นต้น
สาระสำคัญอื่น ๆ: การศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และความท้าทายในการยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของอุตสาหกรรมสินค้าแฟชั่นของไทย โดยความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม และการศึกษาปัจจัยความสำเร็จผ่านแผนดำเนินงานต่าง ๆ ที่ทุกภาคส่วนร่วมกันผลักดันมาอย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบัน
เกี่ยวกับรายงานการศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์:
รายงานการศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 12 สาขา