Solar Vengers
โครงการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้และส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์
(Innovation for Solar Energy Knowledge Development and Utilities Promotion)
Solar Vengers เป็นโครงการที่พัฒนาแนวคิดและสร้างนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ต้นแบบแสงอาทิตย์ เพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์และการใช้ในพื้นที่สาธารณะ ในรูปแบบ/ทางเลือกใหม่ในการใช้งานที่ตอบสนองทั้งในด้านเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ได้จัดทำ ‘โครงการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้และส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์’ หรือ Solar Vengers ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าเพื่อกิจการตามมาตรา 97(5) สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน พ.ศ. 2562 มุ่งเน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้วยการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ต้นแบบแสงอาทิตย์ สำหรับการต่อยอดเชิงพาณิชย์และการใช้ในพื้นที่สาธารณะ พัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์พลังงานแสงอาทิตย์ และสร้างความเข้าใจเรื่องการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ให้กับประชาชน โดยมีการดำเนินงานดังนี้
1. การระดมสมองด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Workshop)
- กระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งแนวคิดการพัฒนานวัตกรรมการผลิตและการใช้ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ เพื่อตอบสนองการใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ ด้วยการรวมพลังความสามารถจากผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาวิชา (Co-creation) ทั้งนักออกแบบ วิศวกร นักวิจัย นักธุรกิจ และประชาชนผู้สนใจ ผ่านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ใน 3 เวิร์กช็อป CreativeVenger, DesignVenger และ MakerVenger
- นำเสนอผลงานต้นแบบจัดแสดงโชว์เคสภายในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพ 2563 (Bangkok Design Week 2020) วันที่ 1-9 กุมภาพันธ์ 2563 เพื่อสร้างการรับรู้โครงการ และขยายผลเชิงแนวคิด ผ่านการจัดแสดงนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ต้นแบบแสงอาทิตย์ 12 ผลงาน และลงคะแนนคัดเลือก 2 ผลงานเพื่อรับทุนทำต้นแบบ 1:1 และทดสอบในพื้นที่จริง
2. การพัฒนาต้นแบบและทดสอบ (Prototyping & Testing)
- พัฒนาต้นแบบ 2 ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกในพื้นที่จริง และทดสอบการใช้งาน โดยมีผู้เชี่ยวชาญและสถาบันรับรองผลการทดสอบ
- จัดทำการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายต่อต้นแบบจำลอง และการวัดผลการทดสอบต้นแบบ 1:1 โดยการลงพื้นที่แบบสอบถามหรือสัมภาษณ์ความคิดเห็นกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ใช้งาน ผู้ให้บริการ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
- จัดทำรายงานการพัฒนาต้นแบบ แบบรายละเอียด พร้อมระบุระยะต่างๆ รายละเอียดวัสดุที่ใช้ สี ฯลฯ ข้อมูลเชิงเทคนิคที่จำเป็น เช่น การติดตั้ง-ถอดประกอบ เป็นต้น
3. นิทรรศการ “SOLAR LAND ล่า ท้า แสง สู้อนาคต” 1 ตุลาคม - 27 ธันวาคม 2563 TCDC Bangkok
- กิจกรรมเพื่อเป็นกลไกในการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านพลังงานทางเลือกในวงกว้างในรูปแบบที่ผู้เข้าชมมีปฏิสัมพันธ์กับนิทรรศการ ในรูปแบบการเล่นเกมเศรษฐีขนาดเท่าคนจริง (SOLAR MONOPOLY: Interactive Life-Size Monopoly Game)
- เพื่อสร้างความเข้าใจด้านพลังงานทางเลือกต่อประชาชนทั่วไปที่สนใจในด้านเทคโนโลยีการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการด้านพลังแสงงานอาทิตย์ที่มีการจัดแสดงผลงานนวัตกรรมจากทั่วโลกมากกว่า 30 ชิ้น
- เพื่อนำเสนอนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการที่สามารถต่อยอดแนวคิดที่สามารถต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ประชาชน รวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมพลังงาน
ผลงานต้นแบบ: Foresee หมวกนิรภัยอัจฉริยะพลังงานแสงอาทิตย์
ผลงานต้นแบบ: SolarPOH ระบบพัฒนาบริการบนท่าเรือที่อำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้สัญจรทางน้ำ
Project Update
นิทรรศการ “SOLAR LAND ล่า ท้า แสง สู้อนาคต”
นิทรรศการ SOLAR LAND ล่า ท้า แสง สู้อนาคต จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม - 27 ธันวาคม 2563 ห้องแกลเลอรี ชั้น 1 อาคารส่วนหลัง และ Rooftop Garden ชั้น 5 TCDC กรุงเทพฯ เพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ให้กับประชาชน และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม แนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการผ่านรูปแบบการเล่นเกมเศรษฐีขนาดเท่าคนจริงเพื่อล่าพลังงานในดินแดนแสงอาทิตย์ มาสร้างเมืองพลังงานสะอาดในอนาคตร่วมกัน
การพัฒนาต้นแบบและทดสอบ (Prototyping & Testing)
SolarPOH: smart pier
Foresee: smart solar-powered helmet
Sol(y)ar: modular floor tiles that store solar energy
การจัดแสดงโชว์เคสในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพ 2563 (Bangkok Design Week 2020)
การจัดแสดงโชว์เคสในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพ 2563 (Bangkok Design Week 2020) เมื่อวันที่ 1-9 กุมภาพันธ์ 2563 เพื่อสร้างการรับรู้โครงการ และขยายผลเชิงแนวคิด ผ่านการจัดแสดงนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ต้นแบบแสงอาทิตย์ 12 ผลงาน
การระดมสมองด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Workshop)
การระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่งแนวคิดการพัฒนานวัตกรรมการผลิตและการใช้ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ จากผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาวิชา (Co-creation) ผ่านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ใน 3 เวิร์กช็อป: CreativeVenger, DesignVenger และ MakerVenger