Change 2021: Visual Character Arts

ปัจจุบันคาแรกเตอร์เป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมและเป็นอีกหนึ่งโอกาสในการสร้างและต่อยอดรายได้ให้แก่นักสร้างสรรค์และผู้ประกอบการ เป็นที่มาของโครงการสร้างรายได้และต่อยอดธุรกิจจากการสร้างสรรค์คาแรกเตอร์ใหม่ให้โดนใจกลุ่มผู้บริโภค จัดโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ในช่วงเดือนมีนาคม - มิถุนายน 2564 โดยผู้เข้าร่วมประกอบด้วยนักสร้างสรรค์คาแรกเตอร์ นักวาดภาพประกอบ/นักวาดการ์ตูน จิตรกร/ศิลปิน ผู้ประกอบการสร้างสรรค์/นักสร้างสรรค์ทั่วไป ทั้งหมดได้ผ่านการอบรมเชิงลึก เพื่อพัฒนาและสร้างสรรค์คาแรกเตอร์ใหม่ที่ตอบโจทย์ในเชิงพาณิชย์ และทางโครงการได้คัดเลือกคาแรกเตอร์ใหม่จำนวนทั้งสิ้น 29 ตัว เพื่อนำมาพัฒนาเป็นสินค้าประเภทต่าง ๆ นับเป็นการนำร่องเพื่อสร้างรายได้ให้กลุ่มนักสร้างสรรค์ต่อไปในอนาคต

คาแรกเตอร์ใหม่ที่โดนใจและการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ 
สิ่งที่ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับคือคาแรกเตอร์ใหม่ พร้อมการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเรื่องการสร้างสรรค์คาแรกเตอร์ใหม่ทั้งด้านการออกแบบและด้านธุรกิจ ตัวอย่างกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากคาแรกเตอร์ใหม่ ซึ่งสามารถนำไปผลิตและวางจำหน่ายได้ การเชื่อมโยงธุรกิจซื้อ-ขายลิขสิทธิ์ของคาแรกเตอร์ใหม่ (ทางตรงหรือทางอ้อมแล้วแต่สถานการณ์) รวมทั้งการเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

4 กิจกรรมในช่วงเวลาต่าง ๆ ของโครงการ
ผู้สมัครได้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ แบ่งเป็น 4 ช่วง ดังนี้ 
กิจกรรมช่วงที่ 1  : การอบรม/สัมมนาโดยวิทยากรที่เป็นตัวแทนคาแรกเตอร์ระดับสากลในประเทศไทย และผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจ Licensing เพื่อเรียนรู้กระบวนการสร้างสรรค์คาแรกเตอร์ใหม่ และการต่อยอดคาแรกเตอร์นั้นให้เป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออนไซต์ ในวันที่ 27 - 28 มีนาคม 2564 ณ ห้องฟังก์ชัน ชั้น 4 TCDC กรุงเทพฯ มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้นรวม 250 ราย 

กิจกรรมช่วงที่ 2 : ผู้สมัครพัฒนาและสร้างสรรค์คาแรกเตอร์ใหม่ภายในระยะเวลา 1 เดือนในเดือนเมษายน 2564 ตามกรอบแนวคิดที่ CEA ได้วางไว้ และส่งผลงานภายในวันที่ 26 เมษายน 2564 มีผู้ส่งผลงานมาทั้งสิ้น 126 ผลงาน สามารถดูผลงานทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์ Connect by CEA 

กิจกรรมช่วงที่ 3 : กรรมการผู้มีความเชี่ยวชาญทั้งด้านการออกแบบคาแรกเตอร์ และหน่วยงานเอกชนที่เป็นตัวแทนลิขสิทธิ์คาแรกเตอร์ระดับสากล ร่วมคัดเลือกคาแรกเตอร์ใหม่ให้เหลือเพียง 29 ตัว เพื่อนำไปพัฒนาและต่อยอดเป็นกลุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ในวันที่ 28 - 29 เมษายน 2564 

กิจกรรมช่วงที่ 4 : Licensing คาแรกเตอร์ที่ได้รับคัดเลือกทั้ง 29 ตัว ถูกนำมาสร้างเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายในช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2564 ได้แก่ แอ็กชันฟิกเกอร์วัสดุพลาสติก เครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น แก้วน้ำ จาน ร่ม ฯลฯ อุปกรณ์เครื่องเขียน (Stationery) เช่น ดินสอ ปากกา สมุด ฯลฯ ผลิตภัณฑ์งานพิมพ์จากกระดาษ เช่น การ์ดอวยพร การ์ดของเล่น โปสการ์ด ฯลฯ ผลิตภัณฑ์แฟชั่น เช่น เสื้อยืด ถุงผ้า ฯลฯ ตลอดจนงานต่อยอดบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม โดยผลลัพธ์ของโครงการได้วางจำหน่ายบนแพลตฟอร์ม Happening And Friends ภายใต้แคมเปญ "แจ้งเกิดคาแรกเตอร์ไทยหน้าใหม่ ที่จะมอบพลังใจให้ผู้คน" 

นอกจากนี้ ยังมีคาแรกเตอร์จากโครงการอีกกว่า 100 ตัว ที่สามารถนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้ ไม่ว่าจะในรูปแบบของมาสคอตหรือพรีเซนเตอร์ให้แก่ธุรกิจหรือองค์กรต่าง ๆ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Connect by CEA 

ทั้งนี้ CEA ขอขอบคุณหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนดังต่อไปนี้ ที่ได้ร่วมสนับสนุนให้โครงการเกิดผลกระทบเชิงบวกแก่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 

Info & Download

ดาวน์โหลด E-book catalogue Visual Character Arts

ชมผลงานทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์ Connect by CEA

 

Project Update

29.04.2564

กรรมการคัดเลือกคาแรกเตอร์ใหม่ให้เหลือเพียง 29 ตัว เพื่อนำไปพัฒนาและต่อยอดเป็นกลุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์

กรรมการผู้มีความเชี่ยวชาญทั้งด้านการออกแบบคาแรกเตอร์ และหน่วยงานเอกชนที่เป็นตัวแทนลิขสิทธิ์คาแรกเตอร์ระดับสากล ร่วมคัดเลือกคาแรกเตอร์ใหม่ให้เหลือเพียง 29 ตัว เพื่อนำไปพัฒนาและต่อยอดเป็นกลุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ในวันที่ 28 - 29 เมษายน 2564

28.03.2564

การอบรมโดยวิทยากรที่เป็นตัวแทนคาแรกเตอร์ระดับสากลในประเทศไทย และผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจ Licensing

การอบรม/สัมมนาโดยวิทยากรที่เป็นตัวแทนคาแรกเตอร์ระดับสากลในประเทศไทย และผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจ Licensing เพื่อเรียนรู้กระบวนการสร้างสรรค์คาแรกเตอร์ใหม่ และการต่อยอดคาแรกเตอร์นั้นให้เป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออนไซต์ ในวันที่ 27 - 28 มีนาคม 2564 ณ ห้องฟังก์ชัน ชั้น 4 TCDC กรุงเทพฯ มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้นรวม 250 ราย