Lunch and Learn
จุดเริ่มต้นของโครงการ Lunch and Learn
จากมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันของนักเรียน เป็น 21 บาท/คน/มื้อ รวมทั้งโจทย์ตั้งต้นที่มองเห็นปัญหาความจําเจของอาหารกลางวันเด็กนักเรียน สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA จึงได้จัดทำโครงการ Lunch and Learn โครงการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กผ่านประสบการณ์อาหารกลางวันโรงเรียน เพื่อสร้างสรรค์ต้นแบบอาหารกลางวันร่วมกับเชฟ นักโภชนาการ นักออกแบบ ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของบุคลากรโรงเรียนในจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดเชียงใหม่
เปลี่ยนข้อจำกัดเป็นความท้าทาย
เด็ก ๆ ทุกคนคาดหวังจะได้รับประทานอาหารที่มีหน้าตาน่าทาน รสชาติดี แต่อาหารมื้อนั้นควรมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสมด้วย ภายใต้ข้อจำกัดที่สำคัญคือเรื่องงบประมาณ ซึ่งถูกกำหนดโดยกระทรวงศึกษาธิการ
ผู้มีส่วนร่วมในการกระบวนการสร้างสรรค์ร่วม
- เด็กนักเรียน
- ครู
- ผู้บริหารโรงเรียน
- แม่ครัว
- นักโภชนาการ
- เชฟผู้เชี่ยวชาญ
เมนูอาหารกลางวันที่น้อง ๆ อยากทาน
โครงการให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของเด็กนักเรียน โดยเปิดโอกาสให้ตัวแทนนักเรียนได้โหวตเลือกเมนูที่อยากรับประทานมากที่สุด เพราะเสียงเล็ก ๆ ของเด็ก ๆ คือปัจจัยสำคัญในการพัฒนาสูตรอาหารให้ดียิ่งขึ้น ให้ตอบโจทย์ทั้งด้านรสชาติ ความหลากหลาย และโภชนาการ
สรุปผลโครงการ Lunch and Learn ปี 2564
จำนวนโรงเรียนที่เข้าร่วม
โรงเรียนในจังหวัดขอนแก่นที่เข้าร่วม 5 โรงเรียน
โรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ที่เข้าร่วม 4 โรงเรียน
จำนวนนักเรียนที่เข้าร่วม
โรงเรียนในจังหวัดขอนแก่น 2,228 คน
โรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ 970 คน
รวม 3,198 คน
สู่ผลลัพธ์เมนูอาหารกลางวันสร้างสรรค์
โครงการ Lunch and Learn นำมาสู่ผลลัพธ์เป็น 10 เมนูอาหารกลางวันต้นแบบสำหรับโรงเรียนที่เข้าร่วมในจังหวัดขอนแก่น และ 10 เมนูสำหรับจังหวัดเชียงใหม่
10 เมนูอาหารกลางวันต้นแบบ จังหวัดขอนแก่น
10 เมนูอาหารกลางวันต้นแบบ จังหวัดเชียงใหม่
10 เมนูอาหารกลางวันต้นแบบ จังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วย
1. แกงเผ็ดลูกชิ้นปลากรายหน่อไม้ • ข้าวสวย • ไข่ต้ม • วุ้นฟรุตสลัด
2. KFC (Kwantip’s fried chicken) • มันบด • โคลสลอว์ • ฝรั่งกิมจู
3. ข้าวมันไก่ • น้ำซุป • แตงโม
4. ผัดไทยวุ้นเส้น • ฝรั่งกิมจู
5. ส้มตำไทย • ไก่ทอด • ข้าวเหนียว • ไข่ต้ม • มะม่วงมันดิบ
6. เขียวหวานเบญจรงค์ • ข้าวอัญชัน • ผลไม้ (แอปเปิล) • ผลไม้พื้นถิ่น
7. ข้าวไก่อบซอสเทอริยากิ • ไข่ต้มซีอิ๊ว • เฉาก๊วยนมสด
8. ข้าวหมูทงคัตสึ • ผัดเปรี้ยวหวาน • บวดมันสามสี
9. หมี่หุ้นภูเก็ต • แกงจืดหมูสับหัวไชเท้า • ขนมหัวล้าน
10. ข้าวผัดฮ่องกง • เกี๊ยวน้ำ • ส้มเขียวหวาน
10 เมนูอาหารกลางวันต้นแบบ จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย
1. ข้าวผัดหมูสับไข่ผักสามสี • ซุปสาหร่าย • แตงโม
2. ขนมจีนน้ำพริกอ่องไข่ ใส่เต้าหู้ขาว • ฝรั่ง
3. ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ราดน้ำผัดเห็ดออรินจิ • ส้มเขียวหวาน
4. ข้าวกับอกไก่ราดซอสพะแนง • สับปะรด
5. ข้าวกับต้มจืดแตงกวายัดไส้ • มันบวดสามสหาย
6. ผัดไทย (ใหญ่) • แตงโม
7. ผักกะเพรามะเขือยาว • บวดรวมมิตร
8. ข้าวมันไก่สามสหาย • แคนตาลูป
9. ข้าวผัดกิมจิ-ไก่คลุกซอส • ซุปสาหร่าย • ขนมเค้ก
10. ข้าวกับแกงโฮะหมู • กล้วยน้ำว้า
การขยายผลของโครงการในอนาคต
1. การขยายผลสู่โรงเรียนในภูมิภาคต่าง ๆ
ความสําเร็จของโครงการในปี 2564 ส่งผลให้ในปี 2565 CEA มุ่งขยายขอบเขตพื้นที่โครงการ Lunch and Learn ไปยังสถาบันการศึกษา 22 แห่ง และบุคลากรรวมจํานวน 88 คน ในภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วประเทศ ภายใต้การดูแลของ CEA ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ
โรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่
5 โรงเรียน I บุคลากร 4 คน
โรงเรียนสังกัดเอกชน
2 โรงเรียน I บุคลากร 4 คน
โรงเรียนของเทศบาลนครขอนแก่น
5 โรงเรียน I บุคลากร 4 คน
โรงเรียนในจังหวัดบุรีรัมย์
5 โรงเรียน I บุคลากร 4 คน
โรงเรียนในจังหวัดปัตตานี
5 โรงเรียน I บุคลากร 4 คน
2. การสร้างสรรค์บอร์ดเกม “Match My Meal-ถาดหลุมสุ่มเมนู” สนุกครบรสได้สาระ
ความสำเร็จของโครงการ Lunch and Learn ของ CEA ในปี 2564 นำมาสู่การต่อยอดเป็น “Match My Meal ถามหลุมสุ่มเมนู” บอร์ดเกมที่ชวนน้อง ๆ มารับบทเป็นนักสร้างสรรค์อาหารกลางวัน แข่งกันจัดเซ็ตอาหารถาดหลุม ที่ครบถ้วนด้วยโภชนาการ ตรงตามความต้องการ รวมทั้งเรียนรู้เรื่องอาหารท้องถิ่น ต่างถิ่น และนานาชาติ อย่างสร้างสรรค์ไปพร้อมกันกับเพื่อน ๆ เหมาะสำหรับเด็กนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา (อายุ 4 ปีขึ้นไป) นับเป็นการสนับสนุนการเล่นและเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ไปพร้อม ๆ กัน (Creative Play & Learn)