Creative Craft Transformation
โครงการ Creative Craft Transformation สร้างความท้าทายให้กับผู้ประกอบการคราฟต์ที่เริ่มต้นทำธุรกิจ 0-3 ปี ด้วยหลักคิดในการทำธุรกิจอย่างสร้างสรรค์จากที่ปรึกษามากประสบการณ์ ทั้งกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) หลักการสร้างแบรนด์ ประสบการณ์ตรงจากเจ้าของธุรกิจคราฟต์ที่ประสบความสำเร็จ นำไปสู่การสร้างสรรค์ 50 ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในปัจจุบัน ตอบรับความต้องการของผู้ใช้และตลาดโลก ประกอบด้วยการพัฒนา 5 ระยะ
ช่วงที่ 1: 26 มกราคม - 28 กุมภาพันธ์ 2562 ประกาศผล 5 มีนาคม 2562
Open Call & Talk: เปิดรับสมัครพร้อมการบรรยายเปิดมุมมองใหม่ในการสร้างสรรค์งาน Creative Craft
ช่วงที่ 2: 13 มีนาคม - 4 เมษายน 2562
Workshop & Visits: เวิร์กช้อปและเยี่ยมชมสตูดิโอเพื่อเติมเต็มความรู้
และปรับกระบวนการคิดให้สามารถรับมือกับความท้าทายของโลกยุคใหม่
ช่วงที่ 3: 24 เมษายน - 29 มิถุนายน 2562
Design Development: ลงมือพัฒนาสินค้าและบริการแบบครบวงจรตั้งแต่คิด ผลิต ขาย
ช่วงที่ 4: 30 มิถุนายน - 12 กรกฎาคม 2562
Photo Shoot & Catalog: ถ่ายภาพ จัดทำแคตตาล็อกสินค้า ประชาสัมพันธ์
ช่วงที่ 5: 1-30 กันยายน 2562
Showcase & Network: สร้างโอกาสทางธุรกิจผ่านการขาย และ เครือข่ายผู้ประกอบการ
Info & Download
ผลงานจาก 3 โครงการบ่มเพาะนักสร้างสรรค์ไทยสู่ความเป็น Craft Brand:
Creative Craft Transformation | Craftsman Shift 2019 | East is Craft
E-Catalog การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ปัจจุบัน
Project Update
Showcase & Network: สร้างโอกาสทางธุรกิจผ่านการขาย และ เครือข่ายผู้ประกอบการ ที่งาน Change Pop-up Store by CEA ณ ICONCRAFT ชั้น 4 ICONSIAM
Design Development by Coach ลงมือพัฒนาสินค้าและบริการแบบครบวงจรตั้งแต่คิด ผลิต ขาย 24 เมษายน - 29 มิถุนายน 2562
เยี่ยมสตูดิโอ: เเบรนด์ Labrador และเเบรนด์ Bambunique
ผู้ประกอบการ ทั้ง 24 รายในโครงการ Creative Craft Transformation
เดินทางเยี่ยมชมโรงงานเเบรนด์คราฟต์ผู้เคยคิดการเล็กสู่การพัฒนาไปเป็นผู้ประกอบการณผู้คิดการใหญ่อย่างเเบรนด์
Labrador และเเบรนด์ Bambunique
เวิร์กชอป Business Model : Who is your client? โดย คุณธรรศภาคย์ เลิศเศวตพงศ์ 13-15 มีนาคม 2562
ธุรกิจปรับตัว ปรับหลักคิดได้ตลอดเวลาการใช้ Business Model Canvas จะเป็นแบบฝึกหัดช่วยให้ผู้ประกอบการเริ่มต้นคิดได้จากหลากหลายทิศทางความเป็นไปได้ของธุรกิจ เช่น
หากอยากใช้สินทรัพย์หรือภูมิปัญญาที่ตัวเองมี เราจะทำอย่างไรถึงจะเจอลูกค้าที่สนใจเรื่องเดียวกัน
หรือการทำความเข้าใจกลุ่มลูกค้าที่เรามี แล้วสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณค่าเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าเก่า เป็นต้น
Creative Craft Transformation Talk
ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 4 บริษัทร่วมแนะนำแง่มุมอื่นๆ ของงานคราฟต์ให้กับผู้ประกอบการ 120 ราย
ทั้งความคราฟต์ในการเล่าเรื่องผ่านเเเบรนด์ ความคราฟต์ในการเฟ้นหาวัสดุท้องถิ่น
หรือคราฟต์ผ่านการบริการที่จะมัดใจลูกค้า
คุณเรวัฒน์ ชำนาญ บรรยายในหัวข้อ Asian Design and Its Voice in International Design World
“ในยุคปัจจุบัน จะต้องสื่อสารควบคู่กันทั้งช่องทางออนไลน์ และออฟไลน์ควบคู่กัน กลยุทธ์ของแบรนด์ไม่มีตายตัว
เพราะต้องมีการปรับตัวตลอดเวลา เพื่อให้ทันกับโลกและความต้องการของคนที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว” โดย
Trimode Studio เอ่ยถึงจุดเริ่มต้นสำคัญคือการตั้งคำถาม
“พวกเรามักเริ่มกระบวนการคิดงานด้วยการตั้งคำถามท้าทายกับสิ่งรอบตัวที่คุ้นเคย
มองหาแนวทางใหม่ในการต่อยอดจากรูปแบบเดิม หรือสร้างกระบวนการนำเสนอในรูปแบบใหม่” ในหัวข้อ
เข้าใจจุดเริ่มต้น ค้นหาความสำเร็จ ในขณะที่ The Contextual บรรยายถึง
ธุรกิจ[คราฟต์]ยุคใหม่ต้องขายประสบการณ์ “The Experience Generation
นั่นหมายถึงผลิตภัณฑ์ใดที่ถูกหยิบยื่นมาพร้อมเรื่องราวและประสบการณ์ย่อมจะเป็นสิ่งที่คนกลุ่มนี้ควักกระเป๋าให้แบบ
ไม่ลังเล”
ดู LIVE ย้อนหลัง:
ช่วงที่ 1: https://www.facebook.com/changesmes/videos/642600642841868/
ช่วงที่ 2: https://www.facebook.com/changesmes/videos/761447467575448/
เปิดรับสมัครพร้อมฟังการบรรยายเรื่องความเป็นไปได้ของตลาด เทรนด์ และโอกาสในการขยายธุรกิจคราฟต์
การเปิดรับสมัครผู้ประกอบการคราฟต์ที่เริ่มต้นทำธุรกิจ 0-3 ปีเข้าร่วมโครงการ
โดยมีผู้ประกอบการคราฟต์ 70 รายร่วมฟังบรรยายในหัวข้อ Innovative Craft Trend 2019 โดยคุณแสงระวี สิงหวิบูลย์ รองผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) เเสดงทัศนะว่า “ทิศทางหัตถศิลป์ของ SACICT Craft Trend 2019 เป็นการทำงานภายใต้แนวคิด “Retelling the Detailing”
เป็นการบอกเล่าเรื่องราวเบื้องหลังของการสร้างสรรค์ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้หัตถกรรมไทยก้าวไกลไปในระดับสากลด้วยจุดเด่นของงานฝีมือที่มีเอกลักษณ์ วัตถุดิบเฉพาะภูมิภาค และอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมคือจุดแข็งของไทย คือรากฐานภูมิปัญญาของงานหัตถกรรม เป็น ‘คุณค่า’ ที่สามารถสร้างความสามารถในการแข่งขันกับตลาดโลกได้"
ในขณะที่คุณดุลยพล ศรีจันทร์ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ PDM ตั้งคำถามให้ผู้ประกอบการลองเช็คให้รู้ว่าสิ่งที่ทำคือ Good Design หรือไม่ผ่าน 9 ข้อ
“1. It's Solution to the client's problem - เราต้องแก้ปัญหาให้ลูกค้าว่าจะทำให้มันดีขึ้นได้ยังไงเราต้องแก้ปัญหาให้ลูกค้าว่าจะทำให้มันดีขึ้นได้ยังไง
2. It's Communicate clearly จะสื่อสารอย่างไรให้ลูกค้าเห็นว่าของเราดี
3. It's functional สร้างให้ลูกค้ารู้สึกว่าตอบโจทย์ทั้งการใช้งานและความรู้สึก
4.It's has impact ดีไซน์ที่ลูกค้าเห็นแล้วรู้สึกว่ามันดีจังแม้จะเป็นแค่กระเป๋าผ้าที่ดูธรรมดาแต่มี Story ที่ดีเลิศ
5. It's original ความเป็นของแท้อาจขึ้นอยู่กับมุมมองของคน แต่ของที่คนไม่เคยเห็นมาก่อนย่อมมีส่วนในการดึงดูดความสนใจ
6.It's durable ความทนทานเป็นสิ่งที่แสดงถึงคุณภาพและความใส่ใจของดีไซเนอร์
7. It's fresh,stimulating,exciting and stunning ดีไซน์ที่ดีต้องสร้างความรู้สึกให้คนเห็นรู้สึกว่า “คิดได้ยังไง”
8. It's user friendly บางดีไซน์สวยแต่ยากที่จะใส่ในชีวิตประจำวันก็ทำให้ขายลำบาก 9.It's memorable - ทำให้คนจดจำได้จากการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง”
การบรรยายช่วงที่ 1: Innovative Craft Trend 2019
และแนวทางในการพัฒนาธุรกิจหัตถกรรมที่จะเป็นประโยชน์แก่กลุ่มผู้เริ่มทำธุรกิจ Craft โดยคุณแสงระวี สิงหวิบูลย์
รองผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ(องค์การมหาชน)
ดู LIVE ย้อนหลัง: https://www.facebook.com/changesmes/videos/276038043294784/
การบรรยายช่วงที่ 2: การบรรยายในหัวข้อ Design & Creativity for Value Creation โดยคุณดุลยพล ศรีจันทร์
ผู้อำนวยการบริหาร PDM BRAND
ดู LIVE ย้อนหลัง:
https://www.facebook.com/changesmes/videos/833486213649585/
https://www.facebook.com/changesmes/videos/718539521875553/