Thailand - China Creative Connect

อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นที่จับตามองของนานาประเทศ เเละเนื่องด้วยโอกาสครบรอบ 30 ปี ความร่วมมือระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนเเละความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน ทั้งสองประเทศจึงมีเเนวคิดใหม่ให้ได้จับมือเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ร่วมกัน ภายใต้ชื่อกิจกรรม “Thailand and China Creative Connect” โดยมีตัวเเทน 10 เเบรนด์สัญชาติไทยเเละ 10 เเบรนด์สัญชาติจีน จากสาขาธุรกิจเครื่องประดับเเละอัญมณี ส่งผลงาน/ คอลเล็กชัน เข้าร่วมจัดเเสดงนิทรรศการใหญ่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 2 - 22 พฤศจิกายน 2564 

นอกจากนี้ยังได้มีการจัด Online Webinar เพื่อร่วมค้นหาไอเดียในการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ร่วมกัน โดยมีตัวเเทนวิทยากรจากทั้งสองประเทศ งานจัดผ่านระบบ Zoom ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 

泰国的创意产业持续增长,并被许多国家关注以及在东盟国家合作30周年之际而泰中两国关系也因此有了新的思路,携手合作,共同发展创意产业。2021年11月2-22日本活动“泰中创意连线” 将在中国北京的主展上展出由来自珠宝和宝石业务的10个泰国品牌和10个中国品牌的代表的产品/藏品。

此外,还组织了一次在线网络研讨会,与来自两国的发言人代表一起分享发展创意产业的想法。活动将于2021年11月12日通过zoom系统组织。


“Thailand-China Creative Connect” Webinar

 


#CEA
#chineseembassyinbangkok中华人民共和国驻泰王国大使馆
#ThailandAndChinaCreativeConnect中泰创意交流
#CreativeEconomy#创意经济
#CrossCulture#跨文化
#JewelryDesign#珠宝设计

Project Update

30.11.2564

APAWAN STUDIO Designer: อาภาวรรณ กุลตวนิช

สตูดิโอออกแบบเครื่องประดับที่ความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้หยุดอยู่แค่การดีไซน์ แต่เป็นการทดลองวัสดุทดแทนเเละหาความเป็นไปได้ใหม่เเละการความงดงามที่ไม่ซ้ำใคร APAWAN STUDIO ได้นำหลอดพลาสติกที่ไร้ค่าให้ กลายเป็นเครื่องประดับที่ดูหรูหรา หลอดพลาสติกใสถูกขึ้นรูปฟอร์มคล้ายรังผึ้ง ประดับด้วยคริสตัล วางเด่นบนตัวเรือนโลหะสีทอง คุณสมบัติของหลอดยังเป็นข้อดีที่ทำให้เครื่องประดับมีน้ำหนักเบาและมีความโปร่งเเสงสวยงามเเปลกตาอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

这个装饰设计工作室的设计理念很有创意,不会停留在只有设计,而是创新研发使用再生材料的做法,使装饰品漂亮,并且与众不同。APAWAN STUDIO使用塑料吸管来制作特别豪华的装饰品,透明的吸管被制作成蜂窝状,并在金色金属机身上添加水晶装饰来使产品脱颖而出。由于吸管的特性也使装饰品轻巧、透明、美观、独一无二。
 

30.11.2564

bloomink. Designer: รมย์รวินท์ พิพัฒน์นัดดา

การเบ่งบานของสีสัน ที่จะเปิดประสบการณ์ครั้งใหม่ให้ชีวิต ทุกครั้งที่ได้ใส่เครื่องประดับของ bloomink. จะให้ความรู้สึกเสมือนได้ค้นพบสิ่งใหม่อยู่เสมอ เพราะเครื่องประดับจะถูกออกแบบเป็นชุดทดลองให้เราได้ลุ้นไปว่า เมื่อน้ำแทรกซึมไปบนแผ่นกระดาษที่พิมพ์ด้วยหมึกอิงค์เจท หมึกจะละลายและทำให้เกิดเป็นลวดลายใหม่ ผนวกกับเทคนิคการพับกระดาษยิ่งทำให้เครื่องประดับนั้นดูสวยงามอย่างน่าพิศวง

色彩的绽放开启生活新的体验,每次戴上bloomink 配饰,会有一种新鲜感。因为装饰品被设计为实验套装,让有期待感,就像当水渗透到一张用喷墨墨水打印的纸上时,墨水会溶解并形成新的图案,加上折纸技术,将让这些装饰品更加美观。

30.11.2564

Grajang Designer: สนธยา ปั้นสุภา

จากลวดลายไทยสู่เครื่องประดับงานศิลป์ยุคใหม่ เเบรนด์กระจัง นำเอาลวดลายไทย ศิลปะไทย เครื่องประดับไทยโบราณ รวมถึงเรื่องเล่าในตำนานศิลปะไทยมาการลดทอนรายละเอียดให้ดูทันสมัย ผสมผสานกับการออกแบบเครื่องประดับและเทคนิคการผลิตสมัยใหม่เข้าด้วยกัน นำมาสู่งานดีไซน์เครื่องประดับในรูปแบบโมเดิร์นวินเทจ ที่ส่งเสริมความทันสมัยและความงดงามแห่งศิลป์ไทยให้ดูกลมเกลียวและเป็นสากลยิ่งขึ้น
 
由泰国风格图案制出现代艺术装饰品--  Grajang 品牌风格是以泰国图案、泰国艺术及古老的泰国饰品为元素,借鉴泰国艺术传说中的故事来现代化,并将装饰品设计与现代制造技术结合在一起。来促进泰国艺术的现代性和美感,使现代复古风格的装饰品设计,更好的将泰国本土风格和现代化融合,走向国际化。

30.11.2564

JEWALEE Designer: เกวลี ปาปี

เราเชื่อในความคิดสร้างสรรค์ จึงอยากเปิดพื้นที่ผ่านเครื่องประดับให้ผู้ใช้ได้เติมเต็มเอกลักษณ์ผ่าน "วลี" ในแบบของตัวเอง คำอวยพร มักไม่ใช่ประโยคที่สมบูรณ์เสมอไป แต่กลับเป็น “วลี” ที่สั้น ๆ กินใจ และแฝงความหมายของความหวังดีที่ผู้ให้มีต่อผู้รับ เช่นเดียวกับเครื่องประดับของ จิว-วลี ที่ เว้นความไม่สมบูรณ์ ให้ผู้สวมใส่ได้เติมเต็มความหมายด้วยตัวเอง ชื่อแบรนด์ JEWALEE หรือ จิว-วลี เกิดจากคำว่า "jewelry" + "วลี" ในภาษาไทย ซึ่งแสดงออกถึงคอนเซปต์ของแบรนด์ไว้อย่างชัดเจน

我们相信创造力,所以,想通过装饰品来展示用户的气质, 通过“简短的话语” 体现自己的风格。祝福并不总是完整的句子,而是简短而朗朗上口的“WALEE“,就像“祝福语”一样传递给接收人。JEWALEE的装饰品特地留出空置位置留给佩戴的人自由发挥。品牌名称的由来,是提取了JEWALEE或JEWALEE由泰语中的“jewelry”+“WALEE”组成,清晰表达了品牌的理念。

30.11.2564

Jittrakarn Designer: จิตรกานต์ บรรเทิงไพบูลย์

เเบรนด์การออกแบบเครื่องประดับในรูปแบบ Avant-garde ที่มีดีไซน์สุดล้ำ ปลดปล่อยจิตวิญญาณของการผจญภัย เเละกระตุ้นจินตนาการที่ไม่มีที่สิ้นสุด ดีไซเนอร์แบรนด์ Jittrakarn มักใช้เทคนิคเลเซอร์คัต และ 3D printing มารังสรรค์จินตนาการแฟนตาซีสุดล้ำ  สู่งานเครื่องประดับให้มีตัวตนสวมใส่ได้ในโลกของความเป็นจริง

设计新颖的前卫珠宝设计品牌,释放冒险精神并激发无限想象。Jittrakarn 品牌的设计师使用激光切割和 3D 打印技术创造出最具未来感的幻想,让装饰品作品在可以穿戴在现实世界中。
 

30.11.2564

La Orr Ornaments Designer: สุพัจนา ลิ่มวงศ์

เครื่องประดับคราฟท์ที่ฟื้นคืนชีพวัสดุภูมิปัญญาแห่งความเป็นไทย ลออ แปลว่า “ความงาม” หรือสื่อถึงความประณีตแบบไทย ๆ โดยนำเสนอจุดเด่นของผ้าไหมที่มีเส้นยืนและเส้นพุ่ง มารื้อโครงสร้างใหม่ให้เกิดรูปแบบที่สนุกและแปลกใหม่กว่าเดิม เปลี่ยนรูปลักษณ์ของผ้าไหมไทยให้มีความร่วมสมัย และเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ ภายใต้เครื่องประดับที่มีรูปทรง สีสัน และการจัดวางองค์ประกอบดีไซน์ที่สวยงามทันสมัย เหมาะกับไลฟ์สไตล์ปัจจุบัน
 
重振泰国材料智慧的工艺珠宝,La-or 意为“美”或指泰国的精致,通过呈现经纬丝的优点来创造出更有趣和新的风格。改变泰国丝绸的外观,使其具有现代感,并在具有形状、颜色和美丽的现代设计元素的装饰品下,适合现在的生活方式收到新一代人的欢迎。

30.11.2564

LIVE LIFE DETAIL Designer: พัชรวรรณ เชยสาคร

การดำเนินชีวิตด้วยศิลปะที่ใส่ใจในรายละเอียด ดีไซเนอร์ให้ความสำคัญกับรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เพราะเชื่อว่า สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดเรื่องราว แง่มุมที่แตกต่างกันออกไปแม้จะเป็นการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างปกติ แต่รายละเอียดเหล่านี้สามารถมอบคุณค่าให้การใช้ชีวิตมีความหมาย  และสร้างแรงบันดาลใจให้วันหนึ่งๆ เป็นวันที่พิเศษได้ และด้วยความหลงใหลในงานปักดิ้นทองของไทย ซึ่งเป็นศิลปะงานพัสตราภรณ์โบราณที่ใช้เพื่อปักประดับตกแต่งบนอาภรณ์และเครื่องประดับของชนชั้นสูง เครื่องประดับ LIVE LIFE DETAIL จึงเปี่ยมไปด้วยคุณค่าของสิ่งละอันพันละน้อย และงดงามด้วยงานฝีมือของงานปักดิ้นทองที่ร่วมสมัยเเละเปี่ยมไปด้วยรายละเอียด

过注重细节的艺术生活,设计师注重细节,因为他们相信这些东西可构成了故事。即使在正常的日常生活中,但这些细节可以为有意义的生活赋予价值,并激励每天可以是一个特殊的日子。对泰国金刺绣充满兴趣,这是古代用来装饰贵族服饰和饰物的服饰艺术。LIVE LIFE DETAIL 因此充满点点滴滴故事的价值,金色刺绣工艺美轮美奂,充满现代气息,细节丰富。

30.11.2564

PONK SMITHI Designer: พ้อง พรสมิทธิกุล

“เครื่องประดับเงินลวดลายตาไม้ Mokume Gane ที่ทุกชิ้นมีเพียงหนึ่งเดียว” เครื่องประดับที่เกิดจากกระบวนการทางด้านโลหะวิทยาผสานโลหะที่แตกต่างเข้าด้วยกันด้วยกระบวนการแพร่ของโลหะ (Diffusion Bonding) ซึ่งมีมากถึง 20-30 ชั้น จากนั้นนำมาผ่านกระบวนการแฮนด์เมดในการสร้างสรรค์มากมายทั้งอัด ทุบ รีด เจาะ ทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพื่อให้ประสบการณ์ฝังอยู่ในลวดลายของเครื่องประดับ ราวกับเติมเต็มชีวิตของเครื่องประดับแต่ละชิ้นที่จะไม่ซ้ำกันเลย ทุกชิ้นมีหนึ่งเดียว และแสดงความเป็นตัวตนของผู้ครอบครอง

“独一无二Mokume Gane木纹的银饰”, 将不同金属与扩散粘合工艺相结合达20-30层的冶金首饰,通过一遍又一遍地挤压、粉碎、轧制、钻孔的手工制作过程。从而将毕生的手艺融入到珠宝的图案中,这就像给每件饰品填充独一无二的灵性。每一块都能展示出拥有者的气质和身份。

30.11.2564

Rural Rush Designer: นวินดา อิงคเวทย์

เครื่องประดับสไตล์ Romantic Vintage ที่ดีไซน์มาเพื่อสาวหวานที่ชอบกลิ่นอายวินเทจโดยเฉพาะ ดีไซเนอร์ชื่นชอบในงานถักโครเชต์  เพราะเป็นงานที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นและอ่อนหวาน เมื่อนำเทคนิคดังกล่าวมาลองถักกับลวดโลหะออกมาจึงเป็นเครื่องประดับที่สวยงาม ด้วยรายละเอียดการพับเก็บปลายลวดไว้ในชิ้นงานได้ ตัวชิ้นงานสามารถขัดให้เงา และรมดำเพื่อไม่ให้เกิดสนิมหรือผุกร่อน ช่วยให้เครื่องประดับมีอายุการใช้งานยาวนาน เเละยังคงความงามผ่านกาลเวลา

浪漫复古风格的装饰品,专为喜欢复古氛围的甜美女孩而设计。设计师喜欢针织和钩针编织,因为这是让人感觉温暖甜蜜的作品。当试用金属丝编织的这种技术时, 则造出一种美丽并可折叠线端的装饰品。可以抛光使其发亮,并涂黑以避免生锈或腐蚀,让珠宝更持久并保留它的美丽。
 

30.11.2564

SARRAN Designer: ศรัณญ อยู่คงดี

“เรื่องราวของผู้หญิง ดอกไม้ และวัฒนธรรม” ดอกไม้สายพันธุ์เดียวกัน หากเติบโตในภูมิอากาศ สภาพแวดล้อม หรือแม้กระทั่งในฤดูกาลที่แตกต่างกัน ดอกไม้นั้นย่อมไม่เหมือนกันเสียทีเดียว ทั้งรูปทรง สี หรือกลิ่น กอปรกับเรื่องเล่า การตีความ และความเชื่อพื้นถิ่นเกี่ยวกับดอกไม้แต่ละชนิด ก็อาจแตกต่างกันไปตามถิ่นที่อยู่ ฉะนั้น การทำความเข้าใจผู้หญิงสักคน คงไม่ต่างจากการทำความเข้าใจดอกไม้แต่ละสายพันธุ์ที่มีองค์ประกอบอันแตกต่างกัน การเรียงร้อยเครื่องประดับดอกไม้ของดีไซเนอร์ จึงเป็นวิธีการเล่าเรื่องผู้หญิง ดอกไม้ และวัฒนธรรม ที่เขาต้องการสื่อสารออกไป

“一个关于女性、花卉和文化的故事。”同种花卉如果生长在不同的气候、环境,甚至不同的季节,花朵在形状、颜色或气味上并不完全相同,因此根据每朵花的故事、生长的地方,当地信仰,定义了不同花种的“花语“。所以,了解一个女人与了解具有不同成分的每种花没有什么不同。设计师做的花饰布置,是一种表达女人、鲜花和设计师想要交流的文化故事的方式。

30.11.2564

Duan Bingwen จากสถาบัน Xi'an Academy of Fine Arts (XAFA)

Duan Bingwen ได้ออกเเบบคอลเลคชั่น Fortitude โดยได้รับเเรงบันดาลใจมาจากความซื่อสัตย์สุจริต ความเที่ยงตรง ท่าทางที่แน่วแน่ และความแข็งแกร่งตามอุปนิสัยของชาวจีน เขาขึ้นรูปตัวต้นแบบด้วยการแกะแว็กซ์และหล่อตัวเรือนด้วยเงิน จากนั้นจึงลงสีอีนาเมลตามพื้นที่เล็กๆ บนปลายตัวเรือน ทำให้มองเห็นสีเงินบนพื้นที่ส่วนใหญ่ได้โดดเด่น ดูมีชีวิตชีวา และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ตัวเรือนของชิ้นงานมีรูปทรงเฉพาะตัว และยังคงไว้ซึ่งคอนเซปต์ในการออกแบบ
พบกันได้ที่ Beijing: The Imperial Ancestral Temple Art Museum

Bangkok: Online Showcase

来自西安美术学院(XAFA)的段丙文

段丙文 ”Fortitude”系列的设计造型风格灵感根源是源于中国人的性格,表现为坚定姿态、稳重、忠诚和坚强。他打造样板的方式是使用雕刻、打蜡,并银铸造所要镶嵌珠宝的托壳。然后在表壳末端的一个小部分上涂上瓷漆,使托壳的表面大部分都可以展示银色的光芒,看起来有活力,有统一感。作品的外壳具有独特的形状,并保留了设计概念。

在北京太庙美术馆展出

曼谷:在线展示
 

30.11.2564

Guo Xin จาก Shanghai Academy of Fine Arts

รองศาสตราจารย์ Guo Xin เป็นผู้เชี่ยวชาญตัวยงด้านการออกแบบเครื่องประดับของจีน โดยไม่จำกัดวัสดุในการทำผลงานว่าจะต้องเป็นโลหะมีค่า หรือเพชรพลอย เพื่อที่จะปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่ และไม่โดนตีกรอบจากวัตถุนิยม ผลงานที่เขาเลือกมาจัดแสดงภายในงาน ASEAN-China Jewelry Art Exhibition ครั้งนี้ คือ คอลเลคชั่น “Metamorphosis” ซึ่งสื่อถึงความเจ็บปวด การต่อสู้ระหว่างความดีและความชั่วร้าย ความเปราะบางของชีวิต โดยถักทอจากลวดเงิน ประกอบกับดินโพลิเมอร์ และแก้ว ผลงานของเขามักเป็นสัญลักษณ์ถ่ายทอดความรู้สึกของชีวิต

พบกันได้ที่ Beijing: The Imperial Ancestral Temple Art Museum
Bangkok: Online Showcase

来自上海大学美术学院的郭新
郭新副教授是中国珠宝设计领域的一位狂热专家, 她的作品材料不限制于贵重金属或珠宝,这是因为要释放创造力,而不会受到物质主义的打击。

她选择在这次东盟-中国珠宝艺术博览会上展出的作品是"变形"系列,由银丝编织,结合聚合物和玻璃粘土,表达了痛苦、善与恶之争,对生命的脆弱性。她的作品常常是一种象征,表达着生命的感觉。

在北京太庙美术馆展出
曼谷:在线展示

30.11.2564

Jessen Fine Jewelry By Li Zhanjingxuan

ชีวิตสั้น...แต่จิวเวลรี่ยืนยาว
เพชรพลอยเป็นวัตถุดิบมีค่าที่ถูกฝังอยู่ใต้ดินนับพัน หรือร้อยปีท่ามกลางความมืดมิด และรอที่จะถูกค้นพบ ถูกเจียระไน และขึ้นตัวเรือน ในขณะที่ชีวิตมนุษย์นั้นสั้น แต่ความงดงามของเครื่องประดับยืนยาว ดีไซเนอร์ถือว่าเป็นการได้รับเกียรติสูงสุดที่ได้ทำงานสรรค์สร้างความงามอันอมตะ งานออกแบบของ Jessen Fine Jewelry จึงเน้นการขับความสวยงามของเพชรพลอยให้ออกมาเฉิดฉายได้มากที่สุด

พบกันได้ที่ Beijing: The Imperial Ancestral Temple Art Museum
Bangkok: Online Showcase

杰森精细珠宝
设计师:李詹璟萱
生命是短暂的,但珠宝是永恒的。
宝石是一种珍贵的材料,埋在地下黑暗中数千年或数百年等待被发现,被切割和打磨,然后镶嵌到饰品上。虽然人类的生命是短暂的,可是珠宝的美丽是永恒的。设计师获得了最高荣誉致力于创造不朽的美丽。杰森珠宝设计的设计理念,是专注于展现宝石的无限光彩。

在北京太庙美术馆展出
曼谷:在线展示

30.11.2564

"SANG•桑" by Li Sang

เครื่องประดับเงินของ Li Sang ดีไซเนอร์ผู้คว้ารางวัลความเป็นเลิศด้านงานหัตถกรรมสร้างสรรค์ จากการประกวดงานศิลปะและหัตถกรรม ในงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติจีน ครั้งที่ 11 (2019) สะท้อนความอ่อนช้อยของงานฝีมือด้านโลหะมีค่าของช่างจีน ซึ่งได้เลือกคอลเลคชั่นของเธอมาจัดแสดงถึง 3 คอลเลคชั่นด้วยกัน คือ Road / Faith, Hope and Love / Encounter

พบกันได้ที่ Beijing: The Imperial Ancestral Temple Art Museum
Bangkok: Online Showcase

“桑"
设计师:李桑
在2019年第十一届中国工艺美术大赛上荣获创意工艺优秀奖的设计师 Li sang 银饰品反映了中国工匠的贵金属工艺的精致,她选择展示三个系列:道路/信仰、希望和爱/遇见

在北京太庙美术馆展出

曼谷:在线展示

30.11.2564

Wang Taidi จาก School of Fashion Design & Engineering of Zhejiang Sci-Tech University (ZSTU)

ดีไซเนอร์มีความถนัดในการออกแบบทั้งแบบสมัยใหม่และแบบโบราณ  และยังมีความสามารถในการบูรณาการระหว่างวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน คอลเลคชั่น ‘Integration Series’ เป็นการผสมผสานระหว่างชิ้นส่วนเครื่องประดับโบราณของยุโรปกับเศษกระเบื้องเคลือบของจีน เศษที่หักคือร่องรอยของกาลเวลาและสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมจีนโบราณ การผสมผสานเสน่ห์ดั้งเดิมของเครื่องเคลือบดินเผาเข้ากับองค์ประกอบแบบยุโรป มีความหมายถึงการผสมผสานแนวคิดการออกแบบใหม่ของวัฒนธรรมที่แตกต่างเข้ากับเครื่องประดับร่วมสมัยเพื่อสืบสานวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีนที่มีมาช้านาน  
  
พบกันได้ที่ Beijing: The Imperial Ancestral Temple Art Museum
Bangkok: Online Showcase

来自浙江理工大学服装设计与工程学院(ZSTU)的王泰迪

设计师擅长现代和古代设计,并能够融合不同的文化。"整合系列"系列是欧洲古代珠宝碎片与中国瓷器碎片的结合。破碎的碎片是中国古代文化的年代象征。将瓷器的传统魅力与欧洲元素相结合,它意味着将不同文化的新设计理念与当代珠宝相结合,以便于延续中国传统文化。

在北京太庙美术馆展出
曼谷:在线展示

30.11.2564

Wang Xiaoxin จาก Academy of Arts & Design, Tsinghua University กรุงปักกิ่ง

รองศาตราจารย์ Wang Xiaoxin หัวหน้าภาควิชาโลหะรูปพรรณ แห่ง Academy of Arts & Design, Tsinghua University กรุงปักกิ่ง เป็นผู้สนใจการใช้นวัตกรรม และเทคโนโลยีไฮเทคมาใช้ในการออกแบบเครื่องประดับร่วมสมัย แต่ถึงอย่างไรก็ตามเครื่องประดับของอาจารย์ยังคงกลิ่นอายของปรัชญา และความงดงามดั้งเดิมของจีนไว้ คอลเลคชั่น ‘Ritual Objects’ ถ่ายทอดความสมดุลย์ของ “หยิน” และ “หยาง” โดยใช้เทคนิคการลงยาสีอีนาเมล ให้ดูมีผิวสัมผัสเหมือนเครื่องเคลือบศิลาดล และมีสีเขียวเหมือนหยก

พบกันได้ที่ Beijing: The Imperial Ancestral Temple Art Museum
Bangkok: Online Showcase

来自北京清华大学美术学院的王晓昕

北京清华大学美术学院金属艺术专业负责人王晓昕副教授对创新和高科技技术在当代珠宝设计中的应用感兴趣。然而,他的珠宝仍然保留了中国传统哲学和美感。"仪式对象"系列通过搪瓷涂料的施工技术传达了"阴"和"阳"的平衡,使其触摸面像青瓷及翠绿如玉。

在北京太庙美术馆展出
曼谷:在线展示

30.11.2564

XUUMII By Zhaoshen Wang

ดีไซเนอร์รุ่นใหม่ที่มีโอกาสได้ทำงานกับแบรนด์ตะวันตกที่มีชื่อเสียงมาแล้วหลากหลายแบรนด์ และเป็นเจ้าของแบรนด์เครื่องประดับ ‘XUUMII’ ที่ได้รับความนิยมจากวัยรุ่นจีน เขายังได้รับเกียรติให้ไปร่วมแสดงงานในนิทรรศการต่างประเทศหลายๆ งาน อาทิ London Design Week (London)  Wanted design tour (New York) และ Handwerksmesse (Munich) คอลเลคชั่น 27 Beads ชวนให้ตั้งคำถามถึงความเชื่อ เรื่อง การกลับชาติมาเกิด โดยแสดงผ่านผงขี้เถ้าที่ดับสลายไปแล้ว แต่ถูกนำมาอัดเป็นลูกประคำเคลือบแก้วที่ใช้เป็นได้ทั้งเครื่องประดับ หรือเครื่องมือประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ฉะนั้นอะไรคือรูปร่างและคุณค่าที่แท้จริงของความเชื่อ? 

พบกันได้ที่ Beijing: The Imperial Ancestral Temple Art Museum
Bangkok: Online Showcase

XUUMII 品牌创始人的王兆珅

新一代设计师有机会与各种著名的西方品牌合作,并深受中国青少年欢迎的“XUUMII"饰品品牌的创始人。他还荣幸地参加了许多国际展览活动,包括伦敦设计周(伦敦)、Wanted design tour(纽约)和 Handwerksmesse(慕尼黑)。27 Beads 系列是通过已消散的灰烬做成玻璃珠或宗教仪式工具,来表达对转世的信仰提出质疑。那么,信仰的价值是什么?

在北京太庙美术馆展出
曼谷:在线展示

30.11.2564

Wang Zhenghong จาก China Academy of Art, Hangzhou

อาจารย์ Wang Zhenghong ศึกษาค้นคว้าเรื่องศิลปะหัตถกรรมดั้งเดิมของจีน และงานเครื่องประดับร่วมสมัยจนถึงระดับที่นับได้ว่าเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการผลักดันหลักสูตรการศึกษาศิลปะและงานช่างฝีมือของประเทศจีน คอลเลคชั่นที่อาจารย์เลือกมาจัดแสดงในงาน ASEAN-China Jewelry Art Exhibition 2021 ชวนให้คิดถึงความหมายของงานศิลปะที่ประดับอยู่บนร่างกาย ในยุคที่เกิดวิกฤติจากโรคระบาดเช่นนี้ทำให้เราฉุกคิดถึงความเปราะบางในวิถีชีวิตคนเมือง ฤาวิถีชีวิตท่ามกลางธรรมชาติ ที่มีต้นไม้ ภูเขา และแม่น้ำจะเป็นที่ๆ ปลอดภัยสำหรับมนุษย์ ถึงเวลาหรือยังที่เราจะให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมรอบกาย

พบกันได้ที่ Beijing: The Imperial Ancestral Temple Art Museum
Bangkok: Online Showcase

来自中国艺术学院的汪正虹

汪正虹教授对中国传统手工艺美术和当代饰品进行研究,可以说是推动中国工艺美术教育课程及中国工艺品的重要力量。汪正虹教授在2021年东盟-中国珠宝艺术博览会上展出的系列让人联想到佩戴在身上的艺术品的含义。在瘟疫危机的时代,我们一直在思考城市生活方式的脆弱压力性,
或在有树木、山和河流的大自然生活中成为人类生命最安全的地方 ,现在是否我们应该重视周围的环境了。

在北京太庙美术馆展出
曼谷:在线展示

30.11.2564

Zhang Fan จากสถาบัน Central Academy of Fine Arts (CAFA)

งานของเธอนั้นมีการผสมผสานระหว่างงานฝีมือแบบดั้งเดิมและเครื่องประดับร่วมสมัยอย่างไม่ธรรมดา Zhang Fan เชี่ยวชาญการผสมผสานศิลปะตาข่ายทองของราชวงศ์หยวน ซึ่งมักใช้เป็นเครื่องสวมศีรษะอันล้ำค่าและเครื่องประดับตามพิธีกรรมในราชสำนักและตระกูลขุนนางในจีน รัสเซีย ปากีสถาน และประเทศอื่นๆ งานหัตถกรรมที่เปราะบางซึ่งเคยเป็นสัญลักษณ์ของยศและอำนาจ ได้รับการรังสรรค์ออกมาใช้เป็นเครื่องประดับที่ใช้ได้ในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป งานศิลปะของ Zhang Fan ได้รับการจัดแสดงในนิทรรศการต่างๆ ทั้งในจีนและต่างประเทศ ชิ้นงานสร้างสรรค์ของเธอนั้นสามารถพบได้ที่ Ubi Gallery และ White Box Museum of Art ในกรุงปักกิ่ง ปัจจุบันเธอเป็นรองศาสตราจารย์ที่ Central Academy of Fine Arts (CAFA) 

พบกันได้ที่ Beijing: The Imperial Ancestral Temple Art Museum
Bangkok: Online Showcase

来自中央美术学院(CAFA)的张凡
张凡副教授的作品融合了传统工艺和现代饰品。她擅长融合中国元代的金丝艺术,而这种艺术在中国、俄罗斯、巴基斯坦等国家的朝廷和贵族家族中常用作为珍贵的头饰和仪式装饰品。曾经象征着地位和权力的脆弱手工艺品被创造出来,作为人们日常生活中的装饰品。
张凡副教授的艺术作品在中外各种展览中展出,加上她的创意作品也在北京的乌比画廊和白盒艺术博物馆展出。她目前是中央美术学院(CAFA)的副教授。

在北京太庙美术馆展出

曼谷:在线展示

30.11.2564

Zhang Linyi จาก Yunnan Art and Design College

อาจารย์ Zhang Linyi จบการศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จากนั้นกลับมาเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่ Yunnan Art and Design College ซึ่งอาจารย์นอกจากจะเป็นนักออกแบบเครื่องประดับแล้ว ยังเรียกได้ว่าเป็นนักค้นคว้าวิจัยเทคโนโลยีภูมิปัญญาศิลปะวัตถุโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สำคัญ สังเกตได้จากชิ้นงานต่างๆ ของเธอ มักจะแทรกองค์ประกอบของวัฒนธรรมโบราณอยู่ ผลงานที่อาจารย์เลือกมาจัดแสดงภายในงาน ASEAN-China Jewelry Art Exhibition 2021 สื่อถึงสภาวะของจิตมนุษย์

พบกันได้ที่ Beijing: The Imperial Ancestral Temple Art Museum
Bangkok: Online Showcase

来自云南艺术学院设计学院的张琳翊    

张琳翊教师在东方大学美术学院视觉艺术与设计专业获得了博士学位,随后回到云南艺术学院设计学院任教。张琳翊教师除了当饰品设计师外,还当东南亚文物艺术智慧技术研究者的重要人物。从她的作品中可以看出,她经常插入古代文化的元素。张琳翊在2021年东盟-中国珠宝艺术博览会上展出的作品表达了人类的精神状态。

在北京太庙美术馆展出
曼谷:在线展示