CEA OUTLOOK จับกระแสอนาคตเศรษฐกิจสร้างสรรค์ : Thailand's Visual Arts Industry
อุตสาหกรรมทัศนศิลป์เป็น 1 ใน 15 สาขาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยเติบโตจากระดับ 1.8 หมื่นล้านบาทในปี 2557 ขึ้นไปแตะระดับ 2.3 หมื่นล้านบาทในปี 2561 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของอุตสาหกรรมแขนงนี้ แม้ว่าปัจจุบัน สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) จะยังคงเป็นแรงกดดันสำคัญ ทว่า พลังแห่งความสร้างสรรค์ที่มีการปรับตัวอย่างต่อเนื่องจึงทำให้เราได้เห็นสิ่งใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมทัศนศิลป์ เช่น การเข้าถึงผลงานทัศนศิลป์ผ่านเทคโนโลยี Virtual และการแปลงผลงานออกมาเป็นไฟล์ดิจิทัลเพื่อซื้อขายในตลาด NFT
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย ต้องการสร้างการรับรู้ความเข้าใจการเตรียมพร้อม และแก้ไขปัญหาให้กับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน จึงได้ทำการศึกษาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เป็นรายสาขาขึ้น โดยครอบคลุมทั้งบริบทภาพรวม ผู้มีส่วนได้เสีย รูปแบบการดำเนินธุุรกิจ ตลอดจนปัญหาในการดำเนินการ และนำมารวบรวมเพื่อนำเสนอเป็นแผนพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์รายสาขาขึ้น สำหรับเป็นแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของประเทศไทย ให้สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
CEA Outlook เล่มที่ 5 ฉบับนี้ นำเสนอผลการศึกษาและประเด็นน่าสนใจจากรายงานแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สาขาทัศนศิลป์และแหล่งอ้างอิงที่เกี่ยวข้อง โดยถ่ายทอดเป็นเนื้อหาครอบคลุมหลากหลายประเด็น อาทิ สถานการณ์อุตสาหกรรมสร้างสรรค์สาขาทัศนศิลป์ ข้อมูลเชิงสถิติการวิเคราะห์ศักยภาพและขีดความสามารถของผู้ประกอบการแนวโน้มสำคัญของอุตสาหกรรมทัศนศิลป์ กรณีตัวอย่างอุตสาหกรรมทัศนศิลป์ในต่างประเทศ ตลอดจนข้อเสนอแนวทางการส่งเสริมที่ควรนำมาปรับใช้ในประเทศไทยเพื่อนำไปกำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์ให้สอดรับกับนโยบายของประเทศ อันจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมทัศนศิลป์ของประเทศไทยต่อไป
ดาวน์โหลดวารสาร CEA OUTLOOK 05
CEA OUTLOOK จับกระแสอนาคตเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (มกราคม – มิถุนายน 2564)
CEA OUTLOOK Keep Up with the Creative Economy Future Trends (January - June 2021)