Creative Districts Project - Physical

Physical

STREET SCAPE เดินเจริญกรุง

กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจและประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้การเดินทางต้องพึ่งพารถยนต์และรถขนส่งสาธารณะเพิ่มมากขึ้นและทำให้แนวทางการพัฒนาเมืองในช่วงที่ผ่านมาให้ความสำคัญกับการเพิ่มพื้นที่ถนนทำให้พื้นที่สาธารณะรวมถึงทางเท้าไม่ได้รับการพัฒนาให้เติบโตไปพร้อมกับเมืองเท่าที่ควร แนวทางการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนในปัจจุบันได้หันกลับมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาพื้นที่สาธารณะควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบการขนส่งมวลชนและการเดินทางทางเลือก เช่น การเดินและปั่นจักรยานเพื่อลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและลดมลพิษทำให้แนวคิดของการพัฒนาเมืองที่เหมาะกับการเดิน (Walkable City)เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่หลายเมืองทั่วโลกนำมาใช้ในการสร้างความยั่งยืน

Streetscape
GOOD WALK = GOOD CITY

‘ทางเดินเท้า’ จึงถูกมองในมิติของการพัฒนาที่ครอบคุลมเรื่องการพัฒนาพื้นที่สาธารณะ ที่สวยงามและใช้เป็นพื้นที่จัดกิจกรรมของเมืองนอกเหนือจากการเดินทางเ พียงอย่างเดียว ซึ่งในหลายเมืองพบว่าคนเดินเท้ามีพฤติกรรมการเดินที่ช้าลง มีการหยุดสังเกตกิจกรรมข้างทาง
มีการนั่งพักริมทางที่เป็นร้านกาแฟและร้านอาหาร
ช่วยสร้างความมีชีวิตชีวาให้กับเมือง
ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์กับคนในชุมชนและกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น สำหรับกรุงเทพมหานคร ทางเท้าที่เคยเป็นเพียงเส้นทางสัญจรสายรอง เริ่มมีการให้ความสำคัญกับการรักษาความสะอาดและการซ่อมแซมเพื่อให้เดินสะดวกมากขึ้น แต่การพัฒนาทางเท้าให้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนนั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงการเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมและชุมชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงเพื่อให้ทางเท้าไม่ใช่แค่เส้นทางสัญจรแต่เป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มคุณภาพชีวิตทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจ Streetscape จึงเป็นโครงการเริ่มต้นเพื่อการพัฒนาคุณภาพของการเดินทางเท้า โดยใช้ย่านเจริญกรุงเป็นพื้นที่ในการศึกษาตั้งแต่การสังเกตพฤติกรรมการสัมภาษณ์การประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกันของผู้สัญจรในฐานะผู้อยู่อาศัยและนักท่องเที่ยวในย่านเจริญกรุงนักออกแบบรวมถึงหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนรวมถึงผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนา การจัดทำต้นแบบและการทดลองใช้จริงในพื้นที่ ในช่วงเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2562 (26 มกราคม -3 กุมภาพันธ์ 2562) เพื่อเก็บข้อมูลการทดลองใช้งานก่อนที่จะนำมาปรับปรุงเพื่อนำไปใช้จริงต่อไป โดยผู้จัดทำวิจัย คือ นัฐพงษ์ พัฒนโกศัยและดลพร ชนะชัย จากCloud-floor ร่วมกับดร. พีรียา บุญชัยพฤกษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาการออกแบบและวางผังชุมชนเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และสนับสนุนโดย บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) การจัดกิจกรรมระดมความเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Co-creation) ได้แก่ หน่วยงานรัฐ เอกชนและคนในพื้นที่ โดยใช้กระบวนการออกแบบบนฐานงานวิจัย (Research-based design) ซึ่งนำไปใช้กำหนดทิศทางในการออกแบบ

สำรวจเจริญกรุง
GOOD RESEARCH = GOOD START

เมื่อประสบการณ์ที่ดีในการเดินเท้าเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน Streetscape จึงเริ่มต้นจากการศึกษาสภาพการสัญจรในปัจจุบันโดยเลือกย่านเจริญกรุง ที่กำลังถูกพัฒนาให้เป็นย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative District)มาเป็นพื้นที่สำหรับการสำรวจลักษณะทางกายภาพและพฤติกรรมการใช้ทางเท้าจากการนับจำนวนผู้ใช้งานช่วงวันธรรมดาและวันสุดสัปดาห์การสังเกตพฤติกรรมการใช้งานและการเลือกเส้นทางจนถึงการระดมความคิดเห็นจากตัวแทนกลุ่มคนที่เดินในย่านเจริญกรุงทั้งคนในชุมชน นักเรียน ผู้ประกอบการร้านค้าในย่าน ตัวแทนจากภาครัฐที่สำคัญคือ หน่วยงานของกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย สำนักงานเขตบางรัก สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง สำนักเทศกิจ สำนักการจราจรและขนส่ง สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว รวมถึงสำนักการโยธา มาร่วมรับฟังข้อมูล เพื่อร่วมกันตั้งเป็นโจทย์ในการปรับปรุงและแก้ปัญหาการเดินในย่านให้ดียิ่ งขึ้น 5 ประเด็น คือ 1. การออกแบบเพื่อสร้างความปลอดภัยในการข้ามถนน (Street Crossing) 2. การออกแบบเพื่อส่งเสริมกิจกรรมระหว่างเดินสัญจรในย่านสร้างสรรค์อย่างมีส่วนร่วม (Street Activities) 3. การจัดการพื้นที่และภูมิทัศน์บนทางเท้า (Street Elements) 4. การออกแบบระบบนำทางเดินเท้า (Wayfinding) 5. การออกแบบสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยในการเดินเท้าช่วงเวลากล างคืน (Safety Environment)

เส้นทางเดินต้นแบบ
GOOD DESIGN = GOOD QUALITY

จาก 5 ประเด็นในการปรับปรุงทางเท้าที่เกิดจากการวิจัยและระดมความคิดเห็นมาสู่โจทย์ที่มอบหมายให้ 5 สตูดิโอออกแบบจากหลายสาขา ประกอบด้วยกลุ่มนักออกแบบ Cloud-floor กลุ่มนักออกแบบ P.library Design Studio กลุ่มนักออกแบบ Studio Dialogue กลุ่มนักออกแบบ Shma Soen และกลุ่มนักออกแบบ Jellyfish Mission มาร่วมพัฒนาเป็นแนวคิดในการออกแบบ 5 แนวทางเพื่อนำเสนอให้ตัวแทนจากคนในย่าน ภาครัฐและเอกชน ได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น เสนอแนะ ในแต่ละผลงาน เพื่อให้นักออกแบบได้นำข้อมูลไปพัฒนาแบบอีกครั้ง ก่อนที่จะไปสู่ขั้นตอนการผลิตต้นแบบเพื่อติดตั้งบนพื้นที่สาธารณะในย่านเจริญกรุง และทดลองใช้งานจริงในระหว่างการจัดเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2562 โดยมี ดร. พีรียา บุญชัยพฤกษ์ ดำเนินการสรุปผลการใช้งานเพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาโครงการอืนๆ ต่อไป ขอบเขตพื้นที่การดำเนินงาน ขนาด 2.47 ตารางกิโลเมตร

การออกแบบเพื่อสร้างความปลอดภัยในการข้ามถนน
Crossing Street: การออกแบบทางข้ามถนน


โดยกลุ่มนักออกแบบ Cloud-floor ทางม้าลายแบบใหม่ที่เตือนให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะได้สังเกต และหยุดชะลอก่อนถึงทางข้าม และป้ายสัญญาณข้ามถนนที่มีแสงไฟกระพริบติดบริเวณเสาโครงสร้างเดิมที่กดเพื่อกระตุ้นให้ผู้ขับมองเห็นมากขึ้น ระหว่างซอยเจริญกรุง 32 - 40 แนวคิดในการออกแบบ กระตุ้นให้คนขับรถมองเห็นสัญลักษณ์จากระยะไกลเพื่อเตรียมชะลอรถ

ติดต่อ: cloud-floor.com

 

การออกแบบระบบนำทางเดินเท้า
Wayfinding: หลงทางยังหาเจอ หลงเธอเจริญกรุง


โดยกลุ่มนักออกแบบ P.library Design Studio การออกแบบเพื่อส่งเสริมการเดินสำรวจย่านเจริญกรุงอย่างสร้างสรรค์แบบครบวงจร ในรูปแบบการบอกทิศทาง เส้นทาง ข้อมูลสถานที่ และถ่ายทอดประสบการณ์ที่จะเจอระหว่างเส้นทางนั้นๆ บริเวณถนนเจริญกรุงแนวคิดการออกแบบ * ลดความซ้ำซ้อนของป้ายที่มีอยู่เดิม และสื่อสารได้อย่างชัดเจน * ไม่เป็นอุปสรรคต่อการเดินเท้า * เพิ่มข้อมูลสถานที่สำคัญของย่านด้วยการสื่อสารรูปแบบใหม่

ติดต่อ: plibrary.co.thfacebook.com/p.library

การออกแบบเพื่อส่งเสริมกิจกรรมระหว่างเดินสัญจรในย่านสร้างสรรค์อย่างมีส่วนร่วม
Charoenkrung’s Story: บันทึกเจริญกรุง


โดย Studio Dialogue กิจกรรมในรูปแบบงานศิลปะและเรื่องเล่าที่สร้างประสบการณ์ระหว่างการเดินเท้า โดยเล่าประวัติของย่านเจริญกรุงผ่านการตีความใหม่ตามมุมมองของดีไซเนอร์ร่วมสมัยที่กระจายอยู่บนผนัง 12 แห่ง ที่กระจายอยู่ในย่านตลาดน้อย ชุมชนฮารูนและบางรัก

แนวคิดการออกแบบ เพื่อให้คนนอกพื้นที่เกิดมุมมองใหม่ต่อย่านเจริญกรุงว่าเป็นหนึ่งย่านที่น่าสนใจ ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์ และความหลากหลายทางวัฒนธรรม  เพื่อสร้างการรับรู้เชิงอัตลักษณ์จากภาพขนาดใหญ่บนกำแพง และให้ข้อมูลของสถานที่สำคัญ  กระตุ้นให้เกิดการเดินตามเส้นทาง

ติดต่อ: studiodialogue.com

การจัดการพื้นที่และภูมิทัศน์บนทางเท้า (Street Elements)
Creative Walkway: ทางเดินเท้าย่านสร้างสรรค์


โดยกลุ่มนักออกแบบ Shma Soen การปรับปรุงภูมิทัศน์ และจัดสรรพื้นที่ทางเดินให้เป็นสัดส่วน แยกระหว่างพื้นที่ทางเดิน นั่งพัก และกิจกรรมอื่นๆ รวมถึงสร้างการรับรู้ความเป็นย่านสร้างสรรค์ บริเวณด้านหน้าอาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง **แนวคิดการออกแบบ** * การออกแบบพื้นที่ทางเดิน ที่นั่งริมถนน และกิจกรรมอื่นๆให้เป็นสัดส่วน * การออกแบบสัญลักษณ์ย่านสร้างสรรค์เพื่อสร้างการรับรู้ * การจัดสวนบริเวณพื้นที่ทางเดินเพื่อสร้างความร่มรื่นและสวยงาม

ติดต่อ: facebook.com/shma.so.en

การออกแบบสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยในการเดินเท้าช่วงเวลากลางคืน
Safety Environment


โดยกลุ่มนักออกแบบ Jellyfish Mission การแก้ปัญหาเส้นทางการสัญจรที่มีความมืดเปลี่ยว ด้วยการออกแบบ Interactive lighting ที่นอกจากจะเพิ่มความปลอดภัยให้กับพื้นที่แต่ยังมีลูกเล่นสร้างสรรค์ที่สร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับการสัญจรยามค่ำคืนบริเวณถนนมหาพฤฒาราม

แนวคิดการออกแบบ การติดตั้งไฟให้แสงสว่างที่ให้ความปลอดภัย และสามารถเปลี่ยนสีได้เมื่อเวลาเดินผ่านเพื่อสร้างความน่าสนใจ